ประเภทของบาตร
ลักษณะของบาตร
บาตร
คือ หัตถกรรมงานฝีมือที่มีมาแต่สมัยโบราณ
สืบทอดกันมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นชื่อว่าบาตร
คนทั่วไปอาจไม่มีส่วนสำคัญในการใช้ แต่ในทางหลักพุทธศาสนาแล้ว
บาตรมีความสำคัญต่อพระสงฆ์ เพราะเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร ๘ ของพระสงฆ์ ชุมชนบ้านบาตรเป็นสถานที่ตีบาตรพระ
แห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
ที่ยังคงขั้นตอนและวิธีการแบบดั้งเดิมโดยการทำบาตรจะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเข้ามา
บาตรทำจากเหล็ก
เป็นหนึ่งในอัฐบริขารของพระภิกษุ-สามเณร คนบ้านบาตรบอกตรงกันว่า
บาตรของที่นี่ตีขึ้นอย่างถูกต้องตามพระวินัยกำหนด คือ ประกอบด้วยโลหะ ๘ ชิ้น
มีโครงบาตร ๑ ฝาข้าง ๒ หน้าวัว ๔ และขอบบาตร ๑ เชื่อมรอยต่อด้วยเหล็กหรือทองแดง
แล้วนำไปตีขึ้นรูปทรงกลม แต่บางเจ้าอาจจะใช้แค่ ๖ ชิ้น ปรับเปลี่ยนตามความสะดวก
แต่ถ้าเป็นกลุ่มพระวัดป่าที่เคร่งครัดการปฏิบัติจริง ๆ จะสั่งบาตรที่ประกอบจากเหล็ก
๘ ชิ้นเท่านั้น พอตีจนได้รูปทรงตามต้องการแล้ว จึงนำบาตรมารมด้วยการเผาไฟ
ทรงไทยเดิม
มีฐานป้าน
ก้นแหลม จึงไม่สามารถวางบนพื้นได้ต้องวางบนฐานรองบาตร เป็นทรงโบราณ ที่มีมานับร้อย ปีแล้ว
ทรงตะโก
ฐานมีลักษณะคล้ายทรงไทยเดิมแต่ก้นมนย้อยสามารถวางบนพื้นได้
เป็นบาตรทรงสูง ก้นมน ลึกและมีกระพุ้งข้างที่แคบ
เป็นทรงโบราณ ที่มีมานับร้อยปี แล้ว
และนิยมมากที่สุด
ทรงมะนาว
รูปร่างมน
ๆ คล้ายกับผลมะนาวแป้น เวลาจับจะถนัดมือบรรจุอาหารได้เยอะกว่าทรงอื่น
มีอายุประมาณ ๘๐-๙๐ ปี
ทรงลูกจัน
เป็นบาตรทรงเตี้ย
แป้น ๆ ลักษณะคล้ายทรงมะนาวแต่จะเตี้ยกว่า
การบรรจุอาหารจะได้น้อยกว่า อายุประมาณ๘๐-๙๐ ปี
ทรงหัวเสือ
(รุ่นใหม่สุด)
รูปทรงคล้ายทรงไทยเดิม
แต่ส่วนฐานตัดเล็กน้อยสามารถวางบนพื้นได้
มีมาประมาณ ๓๐ ปี พระสายธรรมยุตนิยมใช้
Comments
Post a Comment