ตำนานชุมชนบ้านบาตร


ตำนานชุมชนบ้านบาตร
                บ้านบาตร เป็นชุมชนเก่าแก่ในเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนแห่งแรกและแห่งเดียวที่ยังคงยึดอาชีพทำบาตรพระด้วยมือ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกเมรุปูน ซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมืองและถนนบริพัตร ไม่ไกลจากวัดสระเกศ
               


จากตำนานที่เล่าต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อครั้งอดีตทรงเป็นทหารหลวงในสมัยอยุธยา มีพระราชประสงค์จะให้กรุงเทพฯเป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นศูนย์กลางอาณาจักรด้วยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่มั่งคั่งสมบูรณ์ ไม่แพ้กรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านที่อพยพมาจากกรุงเก่าและชาวบางกอกเดิม ต่างก็ต้องปรับตัวให้ตนอยู่รอดมากที่สุด ดังนั้น ชุมชนเดิมที่รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านแบบเฉพาะถิ่น อาทิ กลุ่มชาวนา กลุ่มพ่อค้า กลุ่มชาวจีน ชาวญวน หรือแม้แต่กลุ่มอาชีพ ถนนแห่งนี้เคยเป็น แหล่งชุมชนคนทำกินอาชีพหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านได้ตลอดทั้งปี ย่านนี้เรียกกันว่า “บ้านบาตร”
                บ้านบาตร ตั้งขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ประมาณกันว่า ชุมชนมีอายุยาวนานกว่าสองร้อยปี แหล่งที่มาของชาวบ้านบาตร มีประวัติศาสตร์บอกเล่าที่แตกต่างกัน ปรากฏคำบอกเล่าว่า คนบ้านบาตรเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา อพยพมาเมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ.๒๓๑๐ สันนิษฐานว่าบ้านบาตรอาจตั้งขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีและขุดคลองรอบกรุงขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ชาวบ้านบาตรจึงมาตั้งบ้านเรือนในละแวกนอกคลองตามที่อยู่ปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีคำบอกเล่าต่อ ๆ กันว่า บรรพบุรุษเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาที่เข้ามากับกองทัพไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ หลังจากนั้นได้รวมกันมาอยู่ที่ตรอกบ้านบาตรจนกลายเป็นชุมชน เนื่องจากพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้มีฐานะมักนิยมสร้างวัด ทำให้มีวัดในกรุงเทพฯ จำนวนมาก ในชุมชนแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านทำบาตรพระ และประกอบอาชีพนี้มานานกว่า ๑๐๐ ปี
อ่านเพิ่มเติม
ประเภทของบ้าตร

Comments

Popular posts from this blog

ประเภทของบาตร